วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Cerebral Palsy (CP) หรือเด็กสมองพิการ


Cerebral Palsy
     ซีพี (CP) เป็นคำย่อมาจาก Cereral palsy แปลเป็นไทยว่า  พิการทางสมอง”  ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ
     เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายอาจมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติ เช่น การได้ยิน การรู้สึกสัมผัสของผิวหนัง มากน้อยแตกต่างกันไป สาเหตุ เนื่องจากเด็กพิการ CP แบบไหนจึงต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจวินิจฉัย
     เด็กพิการทางสมองซีพี มักมีปัญหาในการนั่ง ยืน หรือเดิน เด็กจะมีพัฒนาการ ช้า ยืน เดินได้ช้า รายที่เป็นมากจะเดินไม่ได้ บางรายแม้แต่นั่งก็ยังไม่ได้ จะเอนล้มลง แขนขาเกร็ง ลำตัวและคอเกร็ง บางราย พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด น้ำลายยืด ดังนั้น ถ้าพบว่า บุตรหลานมีพัฒนาการช้า ผิดปกติควร นำไปปรึกษาแพทย์

สาเหตุของโรค
     พิการทางสมองซีพี เกิดจากความผิดปกติระหว่างการเจริญและ พัฒนาการของสมอง ยกตัวอย่างเช่น ขณะช่วงระหว่างการคลอดที่ยากสมองเด็กอาจขาด ออกซิเจนนาน ทำให้เซลล์สมองซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ไวต่อการขาดออกซิเจนที่สุดได้รับความเสียหายบางส่วน หรือ เด็กอ่อนหลังคลอด เกิดติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เชื้อได้ทำความเสียหายให้กับ เนื้อสมองบางส่วน ภายหลังหายจากโรคแล้ว เนื้อสมองส่วนที่ตาย ไม่สามารถสร้างใหม่ได้ จะเกิดภาวะเด็ก ซีพีได้ โดยปกติในเด็กแรกเกิด เนื้อสมองจะยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ต้องอาศัย ระยะเวลาประมาณ 6 ปี ระบบประสาทส่วนต่างๆ จึงทำงานโดย สมบูรณ์ และในช่วง อายุ 2 ปีแรกนั้น ถือเป็นช่วงที่มีอัตราการเจริญที่รวดเร็วเกือบ 80 % ของทั้งหมด ดังนั้น ถ้าเกิดความเสียหายกับสมองในเด็กช่วงอายุ 2 ปีแรก อาจจะเป็นติดเชื้อในเนื้อสมอง หรือ อุบัติเหตุที่ศีรษะที่มีการคั่งของเลือดในสมอง จะมีโอกาสเกิด ความพิการทางสมองซีพีได้ง่าย
     โดยสรุป เด็กพิการทางสมองซีพีคือเด็กที่ได้รับความเสียหายของเนื้อสมองซึ่งเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่ ความเสียหายนั้นรบกวนการเจริญ และ พัฒนา ของเนื้อสมองส่วนนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ลักษณะอาการของเด็กซีพี จึงมีหลากหลาย รูปแบบ ตามเนื้อสมองส่วนที่ได้รับความเสียหาย ช่วงอายุที่เกิดความเสียหาย
     เด็กพิการทางสมอง เนื้อสมองส่วนที่เสียหายนั้น จะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้ ผลที่เกิดจากความเสียหายนี้ ทำให้การควบคุม กล้ามเนื้อแขนขา ทำได้ไม่ดี กล้ามเนื้อบางมัดตึง บางมัดหย่อน หรือขยับการเคลื่อนไหวโดยควบคุมไม่ได้ ผลนี้เป็นเหตุให้เด็กทรงตัวได้ไม่ดีขยับยืนหรือ เดิน ลำบาก ถ้าเป็นกับ กล้ามเนื้อลำคอหรือ ปาก ทำให้การพูดลำบาก ไม่ชัด
            ตามที่กล่าวไว้แล้ว ข้างต้น ว่าเด็กซีพี มีความรุนแรงของโรคหลากหลายแบบ บางรายแม้จะได้รับการรักษาแล้ว ก็ไม่สามารถเดินได้ บางรายเดินได้ อาจต้องใช้ไม้เท้าช่วย และบางรายก็เดินได้ ด้วยตนเองในเบื้องต้นควรให้แพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องเด็กซีพี ประเมิน ชนิดและความรุนแรงของโรคก่อน ยอมรับในปัญหาที่เกิดขึ้น และวางแผนการรักษาในอนาคต การให้ความรัก การดูแล รักษาที่ถูกต้อง สามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการบางอย่างที่ดีขึ้นได้ เด็กอาจเดินไม่ได้ แต่อาจสามารถทำงานโดยใช้มือ หรือสมอง สร้างงานได้

ประเภทของความพิการ

1. SPASTIC  (กลุ่มที่มีกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง)



2. ATHETOID  (กลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้)


3. ATAXIC  ( กลุ่มที่มีการทรงตัวแย่ )


4. MIXED (รวมทุกลุ่มอาการ)

การรักษา
      1. ฝึกทักษะด้านการเคลื่อนไหว ,กระตุ้นพัฒนาการในเด็ก และการ ป้องกันความผิดรูปของข้อ ต่างๆ โดยใช้ วิธีทางกายภาพบำบัด และเครื่องมือทางกายภาพบำบัด  หรือ กายอุปกรณ์อื่นๆ ช่วยป้องกันความเกร็งของกล้ามเนื้อ ต้องอาศัย ความสม่ำเสมอในการทำ จะสามารถป้องกันข้อติดแข็งได้ ในระดับหนึ่ง  การใช้ เครื่องช่วยเดิน ช่วยนั่ง หรือช่วยในการหยิบจับ เพื่อให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ดีมากขึ้น
      2. ลดความเกร็ง โดยใช้ยา
     ยากิน กลุ่ม diazepam สามารถลดความเกร็งของ กล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่งแต่ผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน ยาลดความเกร็งของกล้ามเนื้อทุกมัด ดังนั้นจึงไม่สามารถแก้ความผิดรูปของข้อได้
     ยาฉีดเฉพาะที่ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือกลุ่ม Botox ผลิตจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ทำให้ การนำประสาทส่วนปลาย ถูกขัดขวางถ้าฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อที่เกร็งได้ และลดความผิดรูปของบข้อได้ แต่ยาออกฤทธิ์เพียงชั่วคราว ภายใน 3-4 เดือน จะหมดฤทธิ์ กล้ามเนื้อจะเกร็งอีก
     เนื่องจากในเด็กพิการซีพี มีกล้ามเนื้อที่เกร็งผิดรูปหลายมัดมาก ถ้าจะแก้ทั้งหมด ก็ต้องใช้ปริมาณยามาก และยาฉีดในกลุ่มนี้ก็ยังมีราคาแพงมากด้วยจึงยังไม่เป็นที่นิยม สำหรับคนไข้ที่ข้อแข็งมาก การฉีดยาจะไม่ช่วยอะไร
      3. การผ่าตัด แบ่งออกเป็น
            3.1 การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อโดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดตึง
            3.2 การย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ
            3.3 การผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว
       4. การให้การดูแลรวมถึงให้กำลังใจ กับเด็กที่เป็นโรคนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ กับการพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าสังคม การหมั่นกระตุ้นให้ใช้งานแขนขา ช่วยเพิ่มทักษะในการใช้ได้ดีขึ้น
        5. การรักษาด้านอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ไข ตาเหร่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง ใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้านจิตเวช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น